วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561

หลักการบริหารงานแบบ Kaizen



Kaizen หรือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องนั้น แบ่งกว้างๆ ออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการปรับปรุง คือ
1.การรักษามาตรฐานการปฏิบัติงาน
          ทุกองค์การต้องมีเป็นพื้นฐานแม้ว่าองค์การจะมีมาตรฐานการปฏิบัติงานแต่ในความเป็นจริงก็มีหน่วยงานย่อยไม่น้อยที่ไม่ได้ทำตามมาตรฐานที่มี คำถามคือ ทำไมหรือ ผู้คนจึงไม่ทำตามมาตรฐานที่มี เหตุผลที่พอจะพบในความเป็นจริงคือ
  • ความไม่ทันยุคทันสมัยของมาตรฐาน ที่เป็นเช่นนี้คือการขาดการปรับมาตรฐาน เพราะคิดว่ามาตรฐานเป็นสิ่งที่ปรับไม่ได้ แท้จริงแล้วคิดแบบนี้ถือว่าผิดถนัดเลยครับ มาตรฐานเป็นสิ่งที่คนเขียนขึ้นดังนั้นคนนั่นแหละที่จะต้องปรับแก้ให้ทันสมัย
  • ความที่มาตรฐานนั้นขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปกติมาตรฐานการปฏิบัติงานใดๆต้องมีวัตถุประสงค์ของงานที่ชัดเจน เมื่อชัดเจน ตัวมาตรฐานเองจะเป็นแนวทางที่จะนำพาไปสู่เป้าหมายที่ง่ายขึ้น
  • มาตรฐานขาดความยืดหยุ่น ทำผู้คนที่ปฏิบัติตามรู้สึกอึดอัดในการปฏิบัติ
  • มาตรฐานเป็นเหมือนกฎ ที่พร้อมจะให้แหก เพราะหากใครแหกได้ มักจะเด่น อันเป็นความคิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมไม่ได้ (คนไทยก็แปลก ชอบยกย่องคนที่แหกกฎได้ว่า “เก่ง” เช่นยกย่อง ศรีธนญชัย ว่าเป็นคนเก่ง แต่ถ้าพิจารณาให้ดี พบว่า ความเก่งที่ปรากฎเป็นเรื่องเก่งแกมโกง)
  • ความที่ขาดการฝึกอบรม Training ให้เป็นแนวทางเดียวกัน เพราะะลักษณะการฝึกอบรมของอุตสาหกรรมไทยไม่ค่อยมีระบบ แต่เป็นการฝากให้หน้างานอบรมกันเอง เพราะคิดแต่เพียงว่าถ้าใส่คนลงไป งานจะออกมา มากขึ้น อันเป็นการมองเป้าหมายแต่เพียงตัวเลข แต่ขาดการมองภาพรวม ว่า งานเสียจะมีมากขึ้นหรือไม่
2. การปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อย
          ในประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ให้ทุกคนในองค์การได้รู้จักการ เลิก ลด เปลี่ยน กระบวนการทำงานที่ไม่เหมาะสม เครื่องจักรที่ซื้อมาแต่ใช้งานไม่เต็มที่ หรือไม่เหมาะกับงาน การจัดเก็บวัสดุ การเคลื่อนย้ายที่มากเกินไป การเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดความเมื่อยล้า การวิเคราะห์หาสาเหตุเล็กน้อยๆที่ทำตามมาตรฐานแล้วก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ นับเป็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ดังนั้น แต่ละหน่วยงานต้องกลับมาพิจารณาว่าหน่วยงานของตนในแต่ละงาน สามารถปรับปรุงอะไรได้บ้าง หรือสามารถแก้ไขปัญหาอะไรเล็กๆน้อยๆ ได้บ้าง หากบริษัทใด มีมาตรฐานมาก่อน ก็จะทำข้อนี้ง่ายขึ้น
3. การปรับปรุงที่ยกระดับชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ (Breakthrough)
หลักการบริหารงาน          ในประเด็นนี้ เป็นเรื่องที่เป็นการปรับปรุงเรื่องใหญ่ๆ และส่วนมากแล้วผู้ที่จะมาทำการปรับปรุงเรื่องแบบนี้ มักเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับล่างเป็นต้นไป ใครยิ่งสูงยิ่งต้องปรับปรุงเรื่องใหญ่มากขึ้น เช่น การกำหนดนโยบายใหม่ๆ การเปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่ การวาง line layout การวาง line balancing การกำหนดจำนวนคนในการปฏิบัติงาน การยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า การแก้ไขปัญหาทางการเงิน การสร้างวัฒนธรรมใหม่ๆที่ดีขององค์การ การกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างแรงจูงใจที่ดีต่อการทำงาน ฯลฯ


ที่มา : https://th.jobsdb.com/th-th/articles/

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

วิทยาการคำนวณ คืออะไร

วิทยาการคำนวณ คืออะไร?


สรุป “วิทยาการคำนวณ” ที่ต่อไปผู้ปกครองและเด็กหนุ่มสาวยุคใหม่ต้องรู้จักกัน

1) “วิทยาการคำนวณ” คือวิชาที่ปรับหลักสูตรมาจากวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ต่อไปนี้เด็กตั้งแต่ประถม ถึงระดับมัธยม จะได้ร่ำเรียนกัน ถือว่าเป็นวิชาบังคับนะครับ อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พอเปิดเทอมพฤษภาคมปี 2561 ก็เริ่มเรียนแล้ว

2) เนื้อหาของวิทยาการคำนวณจะครอบคลุมวิชาเหล่านี้ในระดับพื้นฐาน
-วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science: CS)
-เทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology: ICT)
-การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy: DL)

3) หัวใจของวิชานี้คือ พื้นฐานการคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) ที่มี 4 องค์ประกอบสำคัญ
-การแบ่งปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาย่อย (decomposition)
-การมองหารูปแบบของปัญหา (pattern recognition)
– การคิดเชิงนามธรรม (abstraction)
– ออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา (algorithm design)

ซึ่ง 4 องค์ประกอบนี้จะแทรกซึมอยู่ในทุกระดับของหลักสูตร
โดยการคิดเชิงคำนวณไม่ใช่เรื่องของ #โปรแกรมเมอร์ แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องมีทักษะการคิดแบบนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเด็กยุคดิจิทัลในอนาคต

4) วิชานี้ไม่ได้สอนให้เด็กทุกคนกลายเป็น #โปรแกรมเมอร์
แต่สอนให้คิดเป็น และสามารถประยุกต์ใช้วิธีคิดเชิงคำนวณได้กับทุกสาขาอาชีพ
อีกทั้งเนื้อหาคอมพิวเตอร์หรือการเขียนโปรแกรม ถือว่าเป็นเพียงแค่ 1 ใน 3 ของวิทยาการคำนวณเท่านั้น

5) วิชานี้จะทยอยสอนปีละ 4 ชั้น เพื่อให้เด็ก คุณครูได้เรียนรู้และปรับตัวกันทัน
-เริ่มจาก ป.1 , ป.4 , ม.1 และ ม.4
-ปี 2562 จึงเริ่มสอนชั้น ป.2, ป.5, ม.2 และ ม.5
-พอปี 2563 ขยับไปสอนชั้น ป.3 ,ป.6 , ม.3 และ ม.6
-ใช้เวลาสามปีในการสอนจนครบทั้ง 12 ชั้นปี

6) หลักสูตรมีความยืดหยุ่นและให้อิสระกับโรงเรียน สามารถปรับเพิ่มหรือลดจำนวนชั่วโมงได้ตามความพร้อมของนักเรียน

7) ตำรามีคุณภาพสูง ปรับใช้ง่าย
อย่างในระดับประถม เขาออกแบบเป็นแนวการ์ตูน มีตัวละครเป็นหุ่นยนต์ เป็นตัวดำเนินเรื่อง พยายามลดเนื้อหาที่เยอะลงไป ให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้น

8) มันไม่ใช่วิชาที่เพิ่มการบ้าน หรือการทำโครงงานให้กับนักเรียน แต่เพิ่มโอกาสในการสร้างสรรค์งานในวิชาอื่นให้มีคุณภาพมากขึ้น

9) การเตรียมความพร้อมของครูผู้สอน
โดย สสวท.ได้จัดอบรมให้ครูคอมพิวเตอร์เมื่อกลางปี 2560 และในช่วงมีนาคม 2561 จะจัดอบรมอีกครั้ง

10) ผู้ปกครองจะช่วยลูกเตรียมตัวได้อย่างไร?
-ป.1 เน้นในเรื่องของการคิดและแก้ปัญหา ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์มากนัก
-ป.4 เริ่มเรียน block programming ด้วยการใช้ scratch
-พอม.ต้น ถึงเริ่มมีการใช้ภาษาอย่าง python ในระดับพื้นฐานที่ไม่ยากและซับซ้อน
-ระดับม.ปลาย จะเน้นการทำโครงงานมากกว่า

11) การวัดผล “เน้นการคิดให้เป็น” มากกว่าการท่องจำ
โดยเด็กเล็กจะวัดผลจากกิจกรรมในห้องเรียนและการสังเกตพฤติกรรม เช่น ให้เขียนขั้นตอนการทำไข่เจียวเพื่อวัดผลเรื่องอัลกอริทึมง่ายๆ

ส่วนเด็กโตจะเริ่มวัดผลแบบข้อเขียน แต่เปิดกว้างและเน้นคิดมากกว่าการท่องจำ

12) วิชานี้ไม่ได้ทำให้ลูกยิ่งติดหน้าจอ ติดเกม หรือโลกโซเชียล

เพราะหัวใจหลักสูตรต้องการ “ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาจากข้อมูลได้ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี”
ดังนั้นวิชานี้จึงไม่ได้ออกแบบมาให้ลูกยิ่งติดหน้าจอ แต่จะช่วยให้ท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย และเป็นผู้สั่งงานคอมพิวเตอร์ มากกว่าถูกคอมพิวเตอร์ควบคุ

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ครูไทยทำอย่างไร...ไม่เก่งคนเดียว โดย PLC (Professional Learning Comunication)

        PLC (Professional Learning Comunication) คือการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการความรู้ของคุณครูด้วยกัน..... 
        PLC ของครู เป็นการรวมตัวกันจัดการความรู้ของครู  เป็นกลไกช่วยสนับสนุนให้ครูสร้างความรู้ขึ้นใช้ทำหน้าที่ครู  และนำความรู้ไปใช้ทำหน้าที่ครู  เพื่อให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้ชนิด “รู้จริง” (mastery)
        PLC ครู มีเป้าหมายร่วมกันที่ผลต่อศิษย์ ให้เกิด Learning Outcome ดีขึ้น  และผลต่อตัวครูเอง ให้เก่งขึ้น มีความสุขขึ้น ก้าวหน้าขึ้น ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/519546


          ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ Professional Learning Community จึงสรุป หมายถึงการร่วมมือ ร่วมใจกันของครู ผู้บริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้โรงเรียนควรเริ่มให้เวลาคุณครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางและวิธีการในการพัฒนาผู้เรียนทั้งในระดับห้องเรียนและในระดับโรงเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 คาบ/ชั่วโมง เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน การคิดหาแนวทางกลยุทธ์ใหม่่ๆ ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีคุณค่า และเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง  

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Why can she/he comunicate with anyone ?

เธอเป็นเด็กหญิงคนไทยที่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี
First give, then receive: Nong Poonsukwattana TEDx Portland




อีกหนึ่งตัวอย่างการการสื่อสารภาษาอังกฤษ
Life is easy. Why do we make it so hard? | Jon Jandai | TEDxDoiSuthep

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

8 Small Things You Can Do Every Day to Get Smarter

Here are some small things to try every day to get smarter and smarter!

1. Write a diary

Science says that writing down your thoughts is one of the best ways to exercise your brain. Writing puts your cognitive abilities such as logic, creativity, and focus to work. Keep a journal or a diary and pour out your thoughts, achievements, or goals at the end of each day. This is one of best smart habits you can develop.

2. Challenge yourself

How many times have you thought about something you couldn’t do, and realized only later after trying it that you’re actually pretty good at it? It happens all the time, right? To work out your brain and develop new talents, you must also keep challenging yourself to try new things and step out of your comfort zone.

3. Make “smart” friends

Being around smart people promotes healthy competition and exposes you to new ideas, perspectives, and knowledge. It may hurt your self-esteem a tad bit, but you’ll always leave the room motivated to learn and know more.



4. Read, read, read
We can’t express how important this one is! Reading is one of best ways to expand the horizons of your mind and boost imagination. Whether reading non-fiction or fiction is better for the brain, is still a debate. However, the fact that reading, in general, makes you smarter is inarguable.

5. Solve Puzzles

Playing brain-training games is the best mental workout for those brain cells. Try out “smart” games like Scrabble, Sudoku, Chess, Battleship, etc. These days there are so many fun game apps to download and play for free. You can also try out apps like “word of the day” that can help you with earning a top score in standardized tests.

6. Learn a new language

Trying out something new and challenging your brain usually tops the list of ways to get smarter. Learning a new language sums up a lot of these brain-friendly activities, including reading books (for our language class) and gaining knowledge. Furthermore, scientists say that exchanging cultural views is a great way to promote fresh vibes inside your brain and improve your perceptual skills.











7. Try out artistic activities
As we all probably know, drawing, painting, and other artistic activities light up the right side your brain. You don’t have to be an artist to try these out. Simply the act of thinking what to create and using hand-eye coordination nurtures your brain in a unique way, storing your memories and aiding retention. According to scientists, art changes your brain in unimaginable ways and there are many reasons why you should try it every day.

8. Break routines

For time management, it may be desirable to be predictable all the time. But experts say that breaking routines and trying a new approach every once in a while is healthy for your brain. You can try simple things such as making a new breakfast, changing your sleep schedules, or trying out a new way (or place) to work. Keep exploring!
http://www.learning-mind.com/get-smarter/